การผันวรรณยุกต์ หมายถึง การอ่านคําโดยแจกแจงเสียงวรรณยุกต์ของคําไปตามลําดับเสียง โดยมีเครื่องหมายวรรณยุกต์เป็นตัวกําหนด เครื่องหมายวรรณยุกต์ไทยมี๔ รูป ได้แก่ ่ ้ ๊ ๋ ส่วนเสียงวรรณยุกต์ไทย มี๕ เสียง ได้แก่ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรีและเสียงจัตวา เครื่องหมายวรรณยุกต์ที่กํากับคําต่างๆ นอกจากจะทําให้รูปของคําต่างกันแล้วยังทําให้เสียง และความหมายของคําต่างกันด้วย การผันเสียงวรรณยุกต์ทําให้คําในภาษาไทยมีลักษณะที่เป็น เอกลักษณ์อย่างหนึ่ง คือ เป็นภาษาที่มีเสียงสูงต่ำคล้ายเสียงดนตรีโดยคําในภาษาไทยมีทั้งคําที่ปรากฏ เครื่องหมายวรรณยุกต์เรียกว่า วรรณยุกต์มีรูป และคําที่ไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ปรากฎ เรียกว่า วรรณยุกต์ไม่มีรูป และเนื่องจากพยัญชนะไทยมีจํานวนทั้งสิ้นถึง ๔๔ ตัว ซึ่งสามารถจําแนกพื้นเสียงได้ ๓ กลุ่ม หรือที่เรียกว่า ไตรยางศ์คือ เสียงสูง เสียงกลาง และเสียงต่ํา อักษรทั้ง ๓ กลุ่มหรือ ๓ หมู่นี้ เมื่อนํามาเขียนเป็นคํา ระดับพื้นเสียงที่แตกต่างกัน จะทําให้การใช้วรรณยุกต์แตกต่างกัน นอกจากนี้การที่คําไทยจําแนกเป็น คําเป็น คําตาย คําที่ประสมสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว ยังทําให้การใช้วรรณยุกต์แตกต่างกันอีกด้วย ไตรยางศ์
ไตรยางศ์ คือ การแบ่งพยัญชนะออกเป็น ๓ หมู่ เพื่อสะดวกในการผันวรรณยุกต์ดังนี้

คําเป็น คําตาย
คำเป็น คำตาย เป็นการจำแนกคำตามลักษณะที่ใช้ระยะเวลาออกเสียงต่างกัน ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะทำให้คำที่มีเสียงพยัญชนะต้นเป็นรูปเดียวกัน มีเสียงวรรณยุกต์ต่างกัน ตัวอย่างเช่น คา เป็นอักษรต่ำ คำเป็น พื้นเสียง เป็นเสียงสามัญ ส่วน คะ เป็นอักษรต่ำคำตาย เสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี
คำเป็นได้แก่คำที่มีลักษณะดังต่อไปนี้
๑. คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น มา ดู ปู เวลา ปี ฯลฯ
๒. คำที่พยัญชนะประสมกับสระ –ำ ใ - ไ - เ – า เช่น จำ น้ำ ใช่ เผ่า เสา ไป ฯลฯ
๓. คำที่มีตัวสะกดอยู่ในแม่ กง กน กม เกย เกอว เช่น จริง กิน กรรม สาว ฉุย ฯลฯ
คำตาย ได้แก่ คำที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
๑. คำที่พยัญชนะประสมกับสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น กะทิ เพราะ ดุ แคะ ฯลฯ
๒. คำที่มีตัวสะกดในแม่ กก กบ กด เช่น บทบาท ลาภ เมฆ เลข ธูป ฯลฯ
สรุปวิธีพิจารณา
๑) ให้สังเกตที่ตัวสะกดเป็นหลัก ถ้าคำที่ต้องการพิจารณามีตัวสะกดให้ดูที่ตัวสะกดไม่ต้องคำนึงถึงสระเสียงสั้นยาว ดูว่าคำนั้นมีตัวสะกดหรือไม่ ถ้ามีให้ขีดเส้นใต้ตัวสะกด
๒) ดูว่าตัวสะกดนั้นเป็น กบด หรือไม่ ( แม่ กก กบ กด ) ถ้าใช่ คำนั้นจะเป็นคำตาย ถ้าไม่ใช่ กบด คำนั้นจะเป็นคำเป็น
๓) ในกรณีที่ไม่มีตัวสะกด ให้ดูว่าคำนั้นประสมด้วยสระเสียงสั้น หรือเสียงยาว ถ้าอายุสั้น
(เสียงสั้น ) ต้องตาย ถ้าอายุยาว (เสียงยาว) จึง เป็น
ดังนั้นสรุปได้ว่า คำที่ประสมด้วยสระ –ำ ใ - ไ - เ –า เป็นคำเป็น เพราะนับว่ามีตัวสะกด ในมาตรา แม่กม แม่เกย และ แม่เกอว ตามลำดับ
การผันวรรณยุกต์
การผันวรรณยุกต์มีหลักการผันดังนี้
อักษรกลาง
คําเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ทั้ง ๔ รูป ๕ เสียง พื้นเสียงสามัญ และมีเสียงตรงกับรูป
คําตาย ผันวรรณยุกต์ได้ทั้ง ๓ รูป ๔ เสียง พื้นเสียงเอก และมีเสียงตรงกับรูป
อักษรสูง
คําเป็น ผันวรรณยุกตืได้ทั้ง ๒ รูป ๓ เสียง พื้นเสียงจัตวา และมีเสยงตรงกับรูป
คําตาย ไม่ผันวรรณยุกต์
อักษรต่ํา
คําเป็น ผันวรรณยุกต์ได้๓ เสียง พื้นเสียงสามัญ และมีเสียงกับรูปไม่ตรงกัน (ผัน เอก ได้เสียง โท / ผัน โท ได้เสียง ตรี)
คําตาย ผันวรรณยุกต์ได้๔ เสียง พื้นเสียงโท และมีเสียงตรงกับรูป (ผัน เอก ได้เสยงี โท)
หมายเหตุ
๑. อักษรต่ํา คําตาย สระสั้น ที่ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวามีใช้ในภาษาไทย ๑ คํา (ค๋ะ)
๒. อักษรต่ํา คําตาย สระยาว ที่ผันด้วยวรรณยุกต์จัตวา ไม่มีคําใช้ในภาษาไทย
No comments:
Post a Comment