
คำพ้อง คือคำที่มีการเขียนหรืออ่านออกเสียงเหมือนกัน แบ่งเป็น ๒ ชนิดคือ คำพ้องรูปและคำพ้องเสียง
คำพ้องรูป คือ คำที่เขียนเหมือนกัน แต่ออกเสียงต่างกันและมีความหมายต่างกัน ในการอ่านจึงต้องระวัง การอ่านคำพ้องรูปให้ถูกต้องและสื่อความหมายได้ตรงตามเจตนาของสารต้องอาศัยบริบท
คำพ้องรูป มี ๓ ลักษณะ คือ
๑. เขียนเหมือนกัน
๒. ออกเสียงต่างกัน
๓. ความหมายต่างกัน
ตัวอย่างคำพ้องรูป

บทประพันธ์เกี่ยวกับคำพ้องรูป
ปักเป้าว่าวลอยคว้าง อยู่เบื้องล่างปลาปักเป้า
ดุมรถเรียกว่าเพลา ช่างเงียบเหงาเพลาเย็น
กรีตามควาญไป กรีกุ้งใหญ่แหลมแลเห็น
พลีชีพเกียรติสูงเด่น พลีกรรมนำสุขใจ
คำพ้องเสียง คือ คำที่มีเสียงเหมือนกัน แต่สะกดแตกต่างกัน มีความหมายไม่เหมือนกัน
คำพ้องเสียง มี ๓ ลักษณะ คือ
๑. อ่านออกเสียงเหมือนกัน
๒. เขียนต่างกัน
๓. ความหมายต่างกัน
ตัวอย่างคำพ้องเสียง
กัน
กัน = กีด บัง ห้าม
กันต์ = โกน ตัด
กรรณ = หู
กัณฐ์ = คอ
กัลป์ = ระยะเวลาอันนานเหลือเกิน
กันย์ = ชื่อราศีที่6
กัณฑ์ = ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่งๆ
กาน
กาน = ตัด ราน
การ = กิจ ธุระ งาน
กาล = เวลา
กานท์ = บทกลอน
กาฬ = ดำ
กานต์ = เป็นที่รัก
การณ์ = เหตุ
กาญจน์ = ทอง
กุด
กุด = บึง ลำน้ำ ด้วน เหี้ยน
กุฏิ = เรือนสำหรับพระภิกษุ, เณร
กุฎ = ยอด
เกด
เกด = ชื่อ ต้นไม้ ,ปลาน้ำจืด,ลูกองุ่น
เกตุ = ชื่อดาว ธง
เกศ = ผม
โกด
โกฎิ = ชื่อมาตราวัดเท่ากับ 10 ล้าน
โกฐ = ชื่อเครื่องยาไทย
โกศ = ที่ใส่กระดูกผี ที่ใส่ศพ ดอกไม้ตูม
โกษ = ที่ใส่กระดูกผี โลก
โกศ = ผอบ
กะเสียน
เกษียณ = สิ้นไป
เกษียน = ข้อความที่เขียนไว้ในใบลาน ข้อความที่เขียนไว้บนหัวกระดาษคำสั่งหรือหนังสือราชการ
เกษียร = น้ำนม
เกียด
เกียด = กัน กั้น เสาที่ปักไว้กลางลาน สำหรับผูกควายในการนาดข้าว
เกียจ = คด ไม่ซื่อ โกง คร้าน
เกียรติ = ชื่อเสียง ความมีหน้ามีตา
ขัน
ขัน = ภาชนะสำหรับตักน้ำ ทำให้ตึงโดยวิธีหมุน แข็งแรง หัวเราะ การร้องของไก่หรือนก
ขัณฑ์ = ภาค ตอน ส่วน ท่อน ชิ้น
ขันธ์ = ตัว หมู่ กอง พวก หมวด
ขรรค์ = ศัสตราวุธชนิดหนึ่งมีคม 2 ข้าง
คัน
คัน = แนวดินหรือทรายที่พูนสูงขึ้น ชื่อต้นไม้ อาการที่อยากเกา
คันถ์ = คัมภีร์
คันธ์ = กลิ่นหอม
ครรภ์ = ท้อง
จัน
จัน = ชื่อตันไม้
จันท์ = ดวงเดือน
จันทน์ = ชื่อต้นไม้
จันทร์ = ดวงเดือน ชื่อเทวดา ชื่อวันที่ 2 แห่งสัปดาห์
จัณฑ์ = ดุร้าย หยาบช้า สุราหรือเมรัย
โจด
โจท = คำถามในวิชาคณิตศาสตร์
โจทย์ = คำถามในวิชาคณิตศาสตร์
โจทก์ = ผู้กล่าวหา ผู้ฟ้องความในศาล
โจษ = พูดกันแซ็งแซ่ เล่าลือกันอิ้ออึง
ฉัด
ฉัด = เตะ
ฉัฐ = ที่6
ฉัตร = เครื่องสูงชนิดหนึ่ง
ทันทัน = ต้นพุทรา
ทันต์ = ฟัน งาช้าง ข่มแล้ว
ทันธ์ = ช้าๆ เขลา เกียจคร้าน
ทัณฑ์ = โทษที่เนื่องด้วยความผิด
นาด
นาด = ทอดแขนให้อ่อนงาม
นาฎ = นางละครนางฟ้อนรำ
นาถ = ที่พึ่ง ผู้เป็นที่พึ่ง
นาท = ความบันลือ เสียงร้อง
นาศ = ความเสื่อม การทำลาย
บาด
บาด = ทำให้เกิดเป็นแผล
บาตร = ภาชนะรับอาหารของพระภิกษุสามเณร
บาต = ตก ตกไป
บาท = ตีน เงิน ส่วนหนึ่งของคำประพันธ์
บาศ = บ่วง
บาศก์ = ลูกเต๋า ลูกสกา
พัด
พัด = เครื่องโบก โบกหมุน
พัช = ดอก
พัฒน์ = ความเจริญ
พัตร = ผ้า
พัทธ์ = ผูก ติด เนื่อง
พัสตร์ = ผ้า
พรรษ = ฝน
ภัต ภัตร = อาหาร ข้าว
ภัทร = ดี เจริญ ประเสริฐ
ประสบ
ประสบ = พบ พบปะ พบเห็น
ประสพ = การเกิดผล
พัน
พัน = จำนวน 10 ร้อย หัวหน้าทหาร วงรอบที่เป็นเส้นสาย
พันธ์ = ผูก มัด ตรึง
พันธุ์ = พวกพ้อง พี่น้อง วงศ์วาน
พรรณ = สีของผิว ชนิด
ภัณฑ์ = สิ่งของ เครื่องใช้
สัน
สัน = สิ่งที่มีลักษณะนูนสูง ปีวอก
สรรค์ = สร้างให้มีให้เป็นขึ้น
สรร = เลือก คัด
สัณฑ์ = ป่าดง เกลี้ยง นุ่มนวล
สันต์ = เงียบ สงบ สงัด
ศัล = เปลือกไม้
ศัลย = ลูกศร
ษัณ = หก
รัด
รัด = โอบรอบหรือ รวบให้กระชับ
รัต = ยินดี ชอบใจ ราตรี กลางคืน
รัตน์ = แก้ว
รัถ = รถ
รัช = ธุลี ฝุ่น ผง ความเป็นราชา
รัชต์ = เงิน
รัฐ = แว่นแคว้น บ้านเมือง
No comments:
Post a Comment